ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แทงกั๊กตั้ง ‘กองทุนมหันตภัย’ นายทะเบียนประกันภัยวางมาตรการรับมือ

แลกเปลี่ยนข้อมูลกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ปรับปรุงระบบตามหลักสากล มีระบบเตือนภัยระหว่างกลุ่มประเทศ

แทงกั๊กตั้ง ‘กองทุนมหันตภัย’ นายทะเบียนประกันภัยวางมาตรการรับมือ

สิงหาคม
6

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 00:00 น.

เมื่อวันที่ 28-29 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการประชุมนายทะเบียนประกันภัยเอเชียครั้งที่ 6 (The 6th Asian Forum of Insurance Regulators : AFIR 6) ภายใต้หัวข้อ “การประกันภัยเอเชียสู่ทศวรรษใหม่” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศไทยโดยมีสำนักงาน คปภ. เป็นเจ้าภาพ การประชุมนี้เป็นการประชุมระดับนานาชาติประจำปี ของผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในทวีปเอเชีย ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คนจาก 20 ประเทศ 26 หน่วยงาน อาทิผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย สมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เป็นต้น

เลขาธิการคปภ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะมีการประกาศปฏิญญากรุงเทพ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการประกันภัย ระหว่างผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน 20 ประเทศเพื่อ
1. แลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย การจัดการความเสี่ยงจากมหันตภัยร้ายแรงระหว่างกัน
2. เนื่องจากสมาคมผู้กำกับธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่กำลังปรับปรุงระบบ การกำกับดูแลตามหลักสากล (Insurance Core Principle : ICP) ใหม่ ซึ่งไทยเป็น หนึ่งในหลายประเทศที่ไม่ได้มีมาตรฐานเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้วจะมีการหารือ กันถึงกรอบการกำกับใหม่ที่ว่าพร้อมกับมีการโหวตเสียงจะเอากฎใหม่หรือไม่
3. มีระบบเตือนภัยรวดเร็วระหว่างกลุ่มประเทศเอเชีย แปซิฟิก เช่น แนวโน้มการเกิดมหันตภัยต่างๆ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือกันชัดเจน

เลขาธิการคปภ. กล่าวว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การกำกับธุรกิจประกันภัย เป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากธุรกิจประกันภัยโลกมีขนาดใหญ่และมีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น ผู้กำกับในเอเชียควรเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงการเพิ่มบทบาทในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือ ไมโครอินชัวรันส์ (Microinsurance) และ การประกันภัยอิสลามให้ประชาชนเข้าถึงได้ทั่วถึง รวมถึงการเตรียมการสำหรับมาตรฐานบัญชีใหม่

ในประเด็นมหันตภัย เป็นหัวข้อที่ประชุมครั้งนี้ให้ความสำคัญมาก มีการวางมาตรการร่วมกันเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ ดูแต่ละประเทศมีโมเดลบริหารจัดการอย่างไร โดยแต่ละประเทศนำไปศึกษาประยุกต์ ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของแต่ละประเทศ อย่างญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เกิดมหันตภัยบ่อย โดยเฉพาะแผ่นดินไหวจะมีโมเดลบริหารจัดการหลายระดับ เช่น ระดับกลางไปจนถึงรุนแรง เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยจุดอ่อนในการบริหารจัดการมหันตภัยคือ
1. ต้องพัฒนาความรู้ และ
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมมหันตภัยมากขึ้น

ส่วนการจัดตั้ง “กองทุนมหันตภัย” ทางเลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนจะจัดตั้งขึ้นหรือไม่ ต้องดูประเทศที่เกิดมหันตภัยบ่อยอย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ อีกทั้งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศด้วย เพราะมหันตภัยที่เกิดก็ไม่เหมือนกัน อย่างไทยไม่เหมือนญี่ปุ่นที่มีความเสี่ยงสูงเกิดแผ่นดินไหว ขณะที่ไทยมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งมากกว่า กองทุนมหันตภัยถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 เป็นมาตรการที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากมหันตภัย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและธุรกิจประกันภัย เพียงแต่ในแผนพัฒนาฯ ไม่ได้กำหนดเป็นเป้าหมายดัชนีชี้วัด (KPI) ต้อง เกิดภายในปี 2557

ที่มา : สยามธุรกิจ