ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัย เฝ้าระวังเงินเฟ้อ-ป.ตรีเงินเดือน 1.5 หมื่น

เงินเฟ้อและเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ทำให้ต้นทุนธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ถ้าหากการจับจ่ายลดลงกระทบซื้อประกันภัย

ประกันภัย เฝ้าระวังเงินเฟ้อ-ป.ตรีเงินเดือน 1.5 หมื่น

กรกฎาคม
25

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 เวลา 00:00 น.

นโยบายของพรรคเพื่อไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภคมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ที่อาจจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาคธุรกิจ อย่างการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำผู้จบปริญญาตรีรุ่นใหม่เป็น 15,000 บาท ตามแผนจะผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติมกราคมปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนด้านบุคลากรของทุกธุรกิจ รวมถึงประกันภัยขยับขึ้น บวกกับปัจจัยลบจากอัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มขยับขึ้นอีกจากปัจจุบัน 3.5% คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 4% และปีหน้ามีทิศทางจะขยับขึ้นอีกมีผลกระทบต่อต้นทุนเช่นกัน

“เราก็ดู 2 ประเด็นนี้อยู่เหมือนกัน อย่างในเรื่องของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น อย่างประกันภัยรถยนต์ทำให้ต้นทุนค่าซ่อม ค่าแรงแพงขึ้น แต่อีกด้านเงินเฟ้อทำให้ราคารถยนต์แพงขึ้น มีผลต่อทุนประกันภัยสูงขึ้นเมื่อทุนสูงขึ้นเบี้ยก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่รู้จะชดเชยกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้แค่ไหน ตรงนี้อยู่ที่การบริหารจัดการของ แต่ละบริษัท เงินเฟ้อตอนนี้อยู่ที่ 3-4% ทางแบงก์ชาติก็ดูแลใกล้ชิดอยู่ ผลกระทบมีอยู่แล้ว รุนแรงแค่ไหนแต่ละบริษัทก็ต้องไปดูกันมากขึ้น”

ส่วนการขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี กระทบกับต้นทุนจ้างงานบุคลากรประกันภัยในภาพรวมเช่นกัน เนื่องจากธุรกิจประกันภัยต้องใช้คนเป็นหลักอยู่แล้ว เมื่อเงินเดือนเพิ่มขึ้นต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธุรกิจประกันวินาศภัยเฉลี่ยประมาณ 12-18% ประมาณ 70% ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือน แต่รายได้ของบุคลากรประกันภัยส่วนใหญ่เกิน 15,000 บาทมีไม่ถึง 10% ที่เงินเดือนต่ำกว่านี้ ซึ่งในจุดนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละบริษัทเช่นกัน เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วผลกระทบเกิดกับทุกธุรกิจ

“2 ประเด็นนี้เป็นภาระกับธุรกิจมีผลต่อต้นทุนบ้าง ส่วนจะมีการขยับราคาเบี้ยประกันภัยขึ้นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท เพราะทุกวันนี้ถึงไม่มีเรื่องเงินเฟ้อแต่มีเรื่องสินไหมทดแทนสูงก็ขยับได้ แต่ส่วนตัวไม่ห่วงเรื่องนี้มากเท่ากับแรงจูงใจในการซื้อ หากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลงกระทบกับกำลังซื้อประกันแน่”

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย ยอมรับว่ามองประเด็นนี้อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อต้นทุนมากนัก “รวมๆ แล้วไม่มีผลกระทบมาก ไม่จำเป็นต้องขยับเบี้ยประกันภัยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์หรือตัวอื่น เพราะเป้าหมายของเราปีนี้ตั้งเป้าเบี้ยรับรวมเติบโตถึง 40% เฉพาะเบี้ยรถยนต์ตั้งเป้าเติบโต 100% เป็นเป้าหมายที่ท้าทายมากพยายามเดินไปให้ถึงจุดนี้ ดังนั้นไม่มีนโยบายปรับเบี้ยประกัน การขยับเบี้ยประกันต้องมาจากปัจจัยเช่น เราคาดการณ์ต้นทุนจะสูงขึ้น อัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) เพิ่มขึ้นแต่ทั้ง 2 ตัวไม่มีผลกระทบกับเรา อย่างเงินเฟ้อไม่ได้ทำให้สินไหมสูงกว่าที่คาดไว้”

บิ๊กประกันชีวิตเชื่อผลกระทบทยอยมา บริษัทแบกค่าใช้จ่ายเพิ่มลูกค้ารอดตัว ในฟากของธุรกิจประกันชีวิต นายกสมาคมประกันชีวิตไทยให้ความเห็นว่า น่าจะทยอยส่งผลกระทบมากกว่า คงไม่กระทบในทันทีและเป็นการกระทบต่อบริษัท มากกว่าจะกระทบต่อลูกค้า เพราะหากจุดไหนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็ย่อมกระทบแต่จะเป็นการกระทบกับการบริหารจัดการ ภายในบริษัทที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

ในส่วนของลูกค้าไม่น่าจะกระทบกับราคาเบี้ยประกัน (Pricing) เพราะกรมธรรม์เดิมที่ขายอยู่ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยได้ ลูกค้าก็ยังต้องจ่ายเบี้ยในอัตราเดิม ขณะที่ลูกค้าที่จะซื้อกรมธรรม์ใหม่ๆ ที่จะออกมาในอนาคต อาจจะกระทบแต่อย่าลืมว่าบริษัทประกันชีวิตกำลังปรับมาใช้ อัตรามรณะใหม่พ.ศ.2551 ซึ่งจะเริ่ม 1 สิงหาคม 2554 นี้และโดยภาพรวมทำให้อัตราเบี้ยถูกลง ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีผลต่อลูกค้าประกันชีวิตเช่นกัน

“ผลกระทบต่อลูกค้าคงไม่มี แต่ในด้านบริษัทมี เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มก็ต้องกระทบการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นซึ่งจะมากน้อยก็ขึ้นกับการบริหารจัดการของแต่ละบริษัท”

ที่มา : สยามธุรกิจ