ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

คปภ.เล็งใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดียว

เร่งศึกษาตั้งกองทุนมหันตภัย สถิติของภัยเพิ่มรอบความเร็วและแรงขึ้น ผลักดันเพิ่มภัยลม-ลูกเห็บ-แผ่นดินไหว-น้ำท่วมรวมเป็นกรมธรรม์ประกันภัยเดียว

คปภ.เล็งใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดียว

กรกฎาคม
8

โดย ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 6 กรกฎาคม 2554 เวลา 11:46 น.

คปภ.เร่งศึกษาแนวทางตั้งกองทุนมหันตภัยรับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติจากนอก ตามแผนพัฒนาฉบับ 2 หวังปรับใช้ก่อนถึงปี 2557 หลังหน่วยงานเกี่ยวข้องเก็บสถิติของภัยที่เพิ่มรอบความเร็วขึ้นและแรงขึ้นหวั่นกระทบทรัพย์สิน พร้อมผลักดันเพิ่มภัยลม-ลูกเห็บ-แผ่นดินไหว-น้ำท่วมร่วมในประกันอัคคีบ้าน ชี้อาจรวมเป็นกรมธรรม์ประกันภัยเดียว

ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ ประกันวินาศภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย "การประกันภัยสิ่งปลูกสร้างและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์" ว่า ขณะนี้ คปภ.อยู่ระหว่างการศึกษาโมเดลการจัดตั้งกองทุนมหันตภัยตามแผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 2 (2553-2557) เพื่อกำหนดมาตรฐานในการคุ้มครองภัยจากภัยพิบัติทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว ลมพายุ และลูกเห็บ จากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติขั้นรุนแรง เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี ในลักษณะของการทำร่วมกัน "การจัดตั้งกองทุนจะนำโมเดลของกองทุนในแต่ละประเทศมาศึกษา เป็นแผนพัฒนาฉบับปี 57 แต่ประจวบเหมาะกับเหตุภัยธรรมชาติต่างๆ อาจจะทำเร่งศึกษาให้เร็วขึ้น ทั้งรูปแบบของต่างประเทศ การกำหนดอัตราเบี้ย เช่นญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างบ่อยครั้ง เขาทำประกันภัยอะไรกันบ้าง โมเดลเขาเป็นอย่างไร

ซึ่งหากเกิดความเสียหายไม่มากนักเขาก็ส่งไปที่บริษัทประกันภัยและประกันภัยต่อ ถัดขึ้นไปก็จะเป็นกองทุน แต่ถ้าเสียหายมากก็จะส่งไปที่รัฐบาล เพราะประกันภัยมันไม่สามารถรับได้หมด เป็นต้น แต่ขณะนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม และยังไม่ได้มีการหารือร่วมกับภาครัฐแต่อย่างใด"

ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนเชื่อว่าจะช่วยลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้ ซึ่งมีแนวคิดจะขอเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ในการจ่ายค่าเบี้ยเพื่อซื้อประกันภัยต่อในต่างประเทศ โดยบริษัทที่รับประกันภัยควรกำหนดพื้นที่ที่จะจัดตั้งกองทุน ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย และกำหนดเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม

แต่แนวคิดดังกล่าวคงต้องรอการพิจารณาของรัฐบาลชุดใหม่ แต่อยากให้เกิดขึ้นจริงโดยเร็วที่สุด "ที่ผ่านมาในไทยมีการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะเป็นงบประมาณจากรัฐบาลส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมาจากสินไหมที่ได้รับการชดเชยจากบริษัทประกันภัย ซึ่งเรามีแนวคิดแบบนี้แต่ภาครัฐก็อยากให้ทำเพราะจะช่วยลดภาระรัฐด้วย แต่การเก็บเงินเข้ากองทุนนั้นยังต้องศึกษาก่อนว่าจะมาจากไหนบ้าง หรืออาจจะเก็บจากบริษัทประกันภัยเหมือนกองทุนประกันวินาศภัย ตอนนี้แนวคิดการบริหารจัดการภัยเป็นการกระจายความเสี่ยงไปทั่วประเทศ เราอาจทำใหม่โดยทำเป็นกรมธรรม์ใหม่ที่รวมภัยธรรมชาติเหล่านี้เข้าไปด้วย คล้ายเป็นการบังคับและปรับเพิ่มเบี้ย เพราะต้องทำในปริมาณมากๆ ถึงจะสำเร็จ อัตราเบี้ยประกันภัยก็ต้องจัดทำตามพื้นที่ และต้องคุยกับประกันภัยต่อด้วยว่าเขาจะรับหรือไม่ โดยปกติที่เราส่งให้ต่างประเทศเกิน 10 ราย "

คปภ. ได้เร่งศึกษาแนวทางการจัดการความเสี่ยงมหันตภัยในประเทศไทย ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับที่อยู่อาศัยขยายความคุ้มครองกรมธรรม์อัคคีภัยที่อยู่อาศัย ที่จะเพิ่มความคุ้มครองในส่วนของ ลมพายุ ลูกเห็บ แผ่นดินไหว น้ำท่วม รวมถึงก่อการร้ายเข้าร่วมด้วย จากเดิมที่มีเพิ่มภัยจากยวดยานพาหนะ และภัยเปียกน้ำ โดยอัตราเบี้ยประกันภัยจะประเมินตามความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ และปรับเบี้ยประกันขึ้นลงตามความเสี่ยงดังกล่าว

"ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินในช่วงระยะหลังๆ ทั้งสาเหตุจากความไม่สงบทางการเมือง และภัยธรรมชาตินับวันยิ่งมีระดับดีกรีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปี 2553 มีอัตราความเสียหายสูงขึ้นเป็น 23.8% เพิ่มจากปี 2548 ที่มีความเสียหาย 16.4% และคาดว่าต่อจากนี้ประชาชนจะตื่นตัว มองหาการซื้อประกันภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินมากขึ้น ในฟากของผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยก็จะต้องเตรียมตัว เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน"

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ