ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ชงปลัดคลังลงนามเกณฑ์ลงทุนใหม่ สำหรับบ.ประกันภัย

คปภ. แก้ไขประกาศเรื่องการลงทุนของบริษัทประกันภัย ให้สอดรับกับเกณฑ์ RBC

ชงปลัดคลังลงนามเกณฑ์ลงทุนใหม่ สำหรับบ.ประกันภัย

มิถุนายน
3

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เวลา 00:00 น.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้แก้ไขประกาศเรื่องการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัยฉบับที่ 2 ที่มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การลงทุนต่างๆ ให้สอดรับกับเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) ฐานะการเงินของบริษัทประกันภัยรวมถึงภาวะตลาดเสร็จแล้ว รอเพียงนำ เสนอปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานบอร์ดคปภ. ลงนามเพื่อบังคับใช้เท่านั้น

หลักเกณฑ์การลงทุนที่มีการแก้ไขหลายข้อหลักๆ ได้แก่
1. กำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงห้ามเกิน 40% ของสินทรัพย์ลงทุนทั้งหมดยึดเกณฑ์เดียว โดยบริษัทประกันภัยที่จะลงทุนได้ต้องมีเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า 300% สินทรัพย์เสี่ยงได้แก่ หุ้น, อสังหาริม-ทรัพย์, เงินให้กู้ยืมต่างๆ, ให้เช่าซื้อรถ, ให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งเฉพาะเครื่อง จักร, หน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เป็นต้น
2. ให้บริษัทประกันชีวิตสามารถทำธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้โดยไม่มีลิมิต
3. การทำธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือสัญญาซื้อคืน โดยไม่กำหนดอัตราผลตอบแทนให้สอดรับกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก
4. ให้บริษัทประกันชีวิตสามารถทำธุรกิจติดต่อหรือแนะนำบริการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อาทิ วางโบรชัวร์ ใครสมัครเป็นสมาชิกบลจ. สามารถส่งใบคำขอผ่านบริษัทประกันชีวิต ได้ เป็นต้นและอื่นๆ

การเพิ่มช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ให้กับบริษัทประกันภัยนอก จากจะให้สอดรับกับ RBC และภาวะตลาดเงินและตลาดทุนแล้ว ยังส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยมีช่องทางหาผลตอบแทนได้มากขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นการพัฒนา ตลาดเงิน ตลาดทุน ของประเทศอีกด้วย ยกตัวอย่างการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่เพิ่มเติมให้ทำธุรกรรมกับแบงก์ชาติได้ เพื่อให้บริษัทประกันชีวิตมีช่องทางหาผลตอบแทนเพิ่มขึ้น สาเหตุที่ขยายให้แบงก์ชาติด้วยเพราะแบงก์ชาติมั่นคง อีกทั้งแบงก์ชาติเห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีตราสารหนี้อยู่มาก และเป็นการลงทุนระยะยาวจึงอยากจะยืมไปลงทุนต่อ

ที่มา : สยามธุรกิจ