ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ปี 55 ประกันภัยโต 2 หลักน้ำท่วมกระตุ้นความต้องการ

ผลจากน้ำท่วม ประชาชนเกิดการตื่นตัวในเรื่องของการทำประกันภัยจะมากขึ้น จีดีพีขยายตัวไม่มีเหตุผลอะไรที่ประกันภัยจะโตน้อยกว่าที่ผ่านมา

ปี55ประกันภัยโต 2 หลักน้ำท่วมกระตุ้นความต้องการ

มกราคม
4

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 28 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.

2554 ปีแห่งพิบัติภัยมหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ทำเอาพื้นที่เกือบครึ่งประเทศของไทย รวมถึงกรุงเทพมหานครจมน้ำสูง 2-3 เมตรเป็นเดือนๆ กำลังจะผ่านพ้นไป ล่วงเข้าสู่ศักราชใหม่ 2555 หรือปีงูใหญ่ ปีแห่งการฟื้นตัวสดใสในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายสำนัก ฟันธงไปในทิศทางเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศไทยจะเติบโตประมาณ 4.5 - 4.8%

การเติบโตของเศรษฐกิจย่อมส่งผลดีมาถึงธุรกิจต่างๆ รวมถึงประกันภัยที่จะขยายตัวล้อไปกับจีดีพีอยู่แล้ว ซึ่งแนวโน้มธุรกิจประกันภัยในปีหน้า ทางหน่วยงานที่กำกับดูแลคือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือ คปภ. โดยเลขาธิการ คปภ. ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งครบ 2 เดือนมองว่า ที่ผ่านมาธุรกิจประกันภัยในภาพรวม เติบโตเป็นเลข 2 หลักมาตลอด คาดว่าในปี 2555 ยังเติบโตเป็นเลข 2 หลักต่อไป ตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจเทียบกับปี 2554 ที่น่าจะเติบโตประมาณ 12-13%

คปภ.คาดว่าสิ้นปี 2554 ธุรกิจประกันภัยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.10% ด้วยจำนวนเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 472,255 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 335,084 ล้านบาท เติบโต 13.12% และเบี้ยประกันวินาศภัย 137,171 ล้านบาท เติบโต 9.66% สัดส่วนเบี้ยต่อจีดีพีอยู่ที่ 4.44% เทียบกับสิ้นปี 2553 อยู่ที่ 4.17% ซึ่งตามเป้าหมายของแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 สัดส่วนเบี้ยต่อจีดี

ถามว่าระหว่างประกันชีวิตและประกันวินาศภัย อะไรเติบโตได้ดีกว่ากันในปีงูใหญ่นี้ มองว่าน่าจะเป็นประกันวินาศภัย ผลจากน้ำท่วมจะทำให้ประกันวินาศภัยทุกประเภท เกิดการตื่นตัวมากกว่าปกติเมื่อมีภัยใหญ่ๆ เกิดขึ้น การตื่นตัวของประชาชนในเรื่องของการทำประกันภัยจะมากขึ้น ขณะที่เงินช่วยเหลือจากรัฐที่ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมรายละ 5,000 บาท การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของจีดีพี

“เมื่อจีดีพีขยายตัวไม่มีเหตุผลอะไรที่ประกันภัยจะโตน้อยกว่าที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับการสร้างความมั่นใจของภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ให้เขาเชื่อมั่นระบบประกันภัย คือธุรกิจถ่ายโอนความเสี่ยง เป็นที่มาของกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำในช่วงที่ผ่านมาและจะทำต่อไป เช่น โครงการบูรณาการซ่อมรถประสบภัยน้ำท่วม เร่งรัดจ่ายค่าสินไหม ทดแทนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่าย”

“ประเวช” เน้นย้ำแนวทางการทำงานของคปภ.ในปี 2555 ยังคงเดินตามกรอบแผนการพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 ระยะ 5 ปี ระหว่างพ.ศ.2553 - 2557 ที่มีอยู่ 4 ข้อหลักคือ
1. การเสริมสร้างความเชื่อมั่น ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย และการเข้าถึงระบบประกันภัยของประชาชนทุกระดับ
2. การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัย
3.การเพิ่มมาตรฐานการให้บริการ และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยและ
4.การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย

ซึ่งในปี 2555 จะมุ่งไปที่การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันภัยมากกว่าการกำกับ เพราะการกำกับมีตัวยืน คือ กฎเกณฑ์ต่างๆที่มีมาตรฐานสากล บล็อกไว้อยู่แล้ว จะมีการผลักดันโครงการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมออกมา รวมถึงให้ความสำคัญกับการผลักดันแบบประกันภัยรายย่อย เบี้ยประกันราคาถูก (ไมโครอินชัวรันส์) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าประกันภัยราคาเป็นธรรมและสะดวก เป็นการให้ความมั่นใจขั้นพื้นฐาน แนวทางในปี 2555 ต้องสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าถึงประกันภัยของประชาชน สร้างเสถียรภาพให้กับบริษัทประกันภัย

“เลขาธิการคปภ.” ย้ำว่า ธุรกิจประกันภัยต้องมองไปยาวๆ ระยะ 10-20 ปีข้างหน้า ตอนนี้เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยดี ยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีปัญหา ต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน มีแค่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เท่านั้นที่เศรษฐกิจมีการเติบโตดี มีการขยายตัวของจีดีพีสูงสุดในโลก ซึ่งภูมิภาคเอเชียอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ จะเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูงสุดในโลก เป็นตัวนำการพัฒนาจีดีพีของโลกในวันข้างหน้า อีกทั้งเอเชียยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก เฉพาะจีนและอินเดียมีประชากรรวมกันกว่า 2,000 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดในโลก 7,000 กว่าล้านคน

“ธุรกิจประกันภัยโตจากจีดีพี ประกันภัยในประเทศเกิดใหม่ไปได้ดี เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่มีจีดีพีเติบโตสูงสุด มีประชากรมากที่สุด ไทยอยู่ในกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากตรงนี้ด้วย เราต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาธุรกิจท่ามกลางคลื่นเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้น”

ดังนั้น บริษัทประกันภัยทุกแห่งรวมถึงคปภ.ต้องคิดในระยะ 10 - 20 ปีข้างหน้า มองภาพธุรกิจอย่างไร จะเดินไปในทิศทางไหน มองให้เห็นภาพใหญ่ หลังจากนั้นเอามาปรับจูนให้ตรงกัน จะได้รู้ว่าปี 2555 ควรจะทำอย่างไร มองไปถึงการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) ในปีค.ศ.2015 หรือพ.ศ.2558 ด้วยธุรกิจประกันภัยต้องรีแอ็ก ถ้าจะอยู่ต้องเตรียมตัวต้องร่างแผนการดำเนินการ กำหนดขั้นตอนปฏิบัติร่วมกัน ติดอุปสรรคอะไรอย่างในเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆ เราพร้อมจะแก้ไขให้ทั้งเศรษฐกิจและ AEC คือแรงกดดันสำคัญ

“การเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น การเริ่มมองหาหุ้นส่วนทางธุรกิจใหม่ๆ ที่บริษัทประกันภัยอยากจะทำด้วย ติดขัดกฎไหนอย่างไรเราพร้อมจะยืดหยุ่น เราจะเอาภาพที่ภาคธุรกิจและคปภ.มอง มานั่งคุยกันเพื่อวางแผนไปข้างหน้า เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นธีมของปีหน้าหลังปีใหม่ เราจะมาคุยเรื่องนี้กันให้ชัดเจนให้ได้ภาพละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติ”

ผู้ช่วยเลขาธิการสายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ มองว่า แม้จะเกิดน้ำท่วมในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงธันวาคม ส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและธุรกิจประกันภัย แต่ธุรกิจประกันภัยยังเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) ธุรกิจประกันภัยขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.98% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 378,708 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 263,122 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.20% และเบี้ยประกันภัยวินาศภัย 155,586 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.79%

ที่มา : สยามธุรกิจ