ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แบงก์แย่งขุมทรัพย์โทร.ขายประกันภัยได้ กระทบหนักลูกค้าโดนฉก

แบงก์เป็นเจ้าของฐานข้อมูลรายชื่อลูกค้า บริษัทที่ใช้ฐานข้อมูลจากแบงก์ต้องได้รับผลกระทบแน่ แบงก์ทำเองก็จะยิ่งสะดวก กรณีตัดยอดผ่านบัตรเครดิต

แบงก์แย่งขุมทรัพย์โทร.ขายประกันภัยได้ กระทบหนักลูกค้าโดนฉก

กันยายน
7

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 31 สิงหาคม 2554 เวลา 00:00 น.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้แก้ไขร่างประกาศคปภ.เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัยใหม่อีกครั้ง ซึ่งกำลังเปิดรับความคิดเห็นจากภาคธุรกิจอยู่ สาระสำคัญมีการแก้ไขการขายประกันผ่านโทรศัพท์ หรือช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้ง (Tele Marketing) โดยมีการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาหลายข้อ ทั้งการอนุญาตให้ธนาคารเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ได้จากเดิมไม่อนุญาต

กำหนดให้ภาคธุรกิจจัดให้มีบัญชีรายชื่อ ผู้ไม่ประสงค์จะได้รับการติดต่อกลาง หรือผู้ที่ไม่ต้องการให้โทรศัพท์ไปขายประกัน (Do not Call List) โดยบริษัทต้องดำเนินการให้ตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัยแจ้งรายชื่อบุคคล วัน เวลาที่มีการปฏิเสธการเสนอขาย ให้บริษัททราบทันทีและบริษัทต้องจัดทำบัญชีดังกล่าว รวมกับบัญชีรายชื่อที่บริษัทได้รับแจ้งจากคปภ. จากเดิมไม่ได้กำหนด อีกทั้งยังให้บริษัทจัดทำบัญชี Do not Call List ให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่ประกาศมีผลบังคับใช้ หากทำไม่ได้จะไม่สามารถเสนอขายกรมธรรม์ผ่านช่องทางโทรศัพท์ได้ ยิ่งกว่านั้นยังกำหนดให้บริษัท แจ้งสถานที่ทำการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ ให้คปภ.ทราบภายใน 7 วันที่ได้รับอนุญาต จากเดิมกำหนดให้บริษัทแจ้งแค่ชื่อตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันภัยกับคปภ.เท่านั้น ขณะที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทประกันภัย ให้เสนอขายกรมธรรม์ผ่านทางโทรศัพท์ จะต้องขึ้นทะเบียนกับคปภ. โดยแสดงรายละเอียดสถานที่ทำการ ชื่อและจำนวนพนักงาน หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อกับลูกค้า ที่จะต้องเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยด้วยตนเองเท่านั้น

ส่วนหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้า มาสำหรับช่องทางจำหน่ายอื่นๆ เช่น เพิ่มช่องทางการเสนอขายผ่านเว็บไซต์ (Website) จากเดิมไม่มี โดยกำหนดการชำระเบี้ยประกันภัยผ่านช่องทางนี้ ต้องทำผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเท่านั้น ขณะที่การเสนอขายด้วยวิธีอื่นๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนก่อน

อย่างไรก็ดี หากใครไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง คปภ. กำหนดมาตรการลงโทษ 2 ขั้นคือ
1. สั่งให้บริษัท ตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัย หยุดการเสนอขายกรมธรรม์ผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ที่มีการฝ่าฝืนจนกว่าบริษัท ตัวแทนหรือนายหน้าดังกล่าว จะได้มีหนังสือรับรองว่าจะไม่ดำเนินการลักษณะนี้อีก รวมถึงมีการเสนอมาตรการป้องกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่าเหมาะสมก่อนและ

2. สั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยคปภ.กำหนดให้ภาคธุรกิจแสดงความคิดเห็นภายในวันที่ 29 สิงหาคม

บริษัทชีวิตแห่งหนึ่งให้ความเห็นว่า ในร่างประกาศดังกล่าวข้อที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันชีวิตมากที่สุด คือข้อการเปิดโอกาสให้ธนาคารขายประกันผ่านช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้งได้ เนื่องจากทุกวันนี้แบงก์เป็นเจ้าของฐานข้อมูลรายชื่อลูกค้าส่วนใหญ่ ที่บริษัทประกันชีวิตนำมาขายผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง หากอนุญาตให้ธนาคารทำเอง บรรดาบริษัทที่ใช้ฐานข้อมูลจากแบงก์ต้องได้รับผลกระทบแน่ จะเอาฐานลูกค้าจากไหน อีกทั้งการขายผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งส่วนใหญ่ จะเป็นการชำระค่าเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหากแบงก์ทำเองก็จะยิ่งสะดวกต่อลูกค้า กรณียอมให้ตัดยอดผ่านบัตรเครดิต แม้จะเป็นจำนวนไม่มากเพียงแต่ 200-300 บาท แต่หากเป็นการขายของบริษัทประกันชีวิต ต่อไปหากเป็นเบี้ยจำนวนน้อย ก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติจากแบงก์ในการตัดเบี้ยผ่านบัญชี

“ร่างประกาศฉบับใหม่หากเป็นบริษัทประกันชีวิต ที่ทำเทเลมาร์เก็ตติ้งอย่างมีมาตรฐานอยู่แล้วก็ไม่กระทบ ยกเว้นรายที่จะเข้ามาใหม่หรือเพิ่งทำอาจจะกังวลมากหน่อย โดยเฉพาะในเรื่องของฐานข้อมูล หากว่าไม่มีแหล่งข้อมูลรายชื่ออื่นนอกจากแบงก์ จะเอามาจากไหนและการแข่งขันกับแบงก์ที่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทมากขึ้น”

มองอีกแง่การที่แบงก์ขายประกันผ่านช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้งได้ก็ เป็นผลดีต่อผู้บริโภคในแง่ที่ทำให้การขายเกิดมาตรฐานมากขึ้น และทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าประกันชีวิตใหม่ๆ ดีๆ ขายผ่านช่องทางนี้มากขึ้น ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์

ที่มา : สยามธุรกิจ